พุยพุย

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย อ่านเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ผู้แต่ง
            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ประวัติผู้แต่ง
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
 ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น


ลักษณะคำประพันธ์
         ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ


จุดมุ่งหมายในการแต่ง
         เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีนี้มีจุดมุ่งหมายแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของชาวนาผ่านบทกวี  และเพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีของจีนซึ่งกล่าวถึงความทุกข์ของชาวนาในบทกวี

เรื่องย่อ
         เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก

ข้อคิดที่ควรได้รับ
       เราควรรู้คุณค่าของข้าวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวมาแต่ละเม็ดล้วนเกิดจากความเหนื่อยยากของชาวนา เพราะฉะนั้นไม่ควรกินทิ้งกินขว้างให้เสียประโยชน์

บทวิเคราะห์วิจารณ์
      1) คุณค่าด้านภาษา แสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน
      2) คุณค่าด้านสังคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบกกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของ คนทุกชนชั้น

ศัพท์ที่น่าสนใจ
      กำซาบ > ซึมเข้าไป
      ฎีกา > คำร้องทุกข์ การร้องทุกข์
      เขียวคาว > สีเขียวของข้าว
      เปิป > วิธีใช้ปลายนิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปากตนเอง
      อาจิณ > ประจำ